การสีกาแฟกะลาและคัดคุณภาพกาแฟสาร

Dry Milling: การสีกาแฟกะลาและคัดคุณภาพกาแฟสาร ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการคัดคุณภาพเมล็ดกาแฟและคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเมล็ดกาแฟ (Rejects หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่ถูกคัดออกจากเครื่องและไม่ถูกส่งต่อ ยังเครื่องต่อไป) ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อที่จะสร้างสรรค์กาแฟไทยให้ได้คุณภาพระดับมาตรฐานสากล

เรามาดูกัน ว่าเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัยของ PANA Coffee สามารถคัดคุณภาพกาแฟสารและขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการ (Rejects) ซึ่งรวมถึงเมล็ดที่มีความบกพร่อง (Defects) อะไรได้บ้าง?

เริ่มจากเครื่อง Hulling (combined unit process con-8x) ที่ใช้ระบบสีกาแฟแบบเย็น (Cold Hulling) เพื่อรักษาคุณภาพกาแฟซึ่งประกอบด้วย เครื่องแยกหิน (Destoner) ทำหน้าที่แยกเศษหินและดินออกจากเมล็ดกาแฟ, เครื่องสี (Huller) ทำหน้าที่สีเปลือกกาแฟกะลาออกจากเมล็ด, เครื่องเหวี่ยง (Oscillating Screen) ทำหน้าที่แยกเมล็ดที่ยังสีไม่เสร็จให้กลับไปสีใหม่อีกรอบ และ เครื่องเป่าลม (Catador) ทำหน้าที่เป่าเปลือก ฝุ่น หรือเศษเมล็ดกาแฟที่มีน้ำหนักเบาให้ลอยขึ้นและดูดไปยังเครื่องเก็บฝุ่น Dust Collector ในระบบ Pulse Jet Filter Cyclone

ในขั้นตอนนี้เราจะต้องระวังกาแฟกะลาที่มีความชื้นเพราะเมื่อนำมาสีจะทำให้เมล็ดกาแฟแตกหัก เสียหายได้ง่าย!

Post Reject
Post Reject

ต่อมาคือเครื่อง Coffee Polisher (DBD 15x) ทำหน้าที่ขัดผิวของเมล็ดกาแฟสาร ที่เรียกว่า “Silver Skin” ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ ห่อหุ้มผิวของเมล็ดกาแฟสาร และด้วยเครื่องขัดผิวเมล็ดกาแฟของเรานี่เองที่ช่วยทำให้การขัดชั้นผิวดังกล่าวนี้ออกไปได้โดยไม่ทำให้เกิดร่องรอยความเสียหายที่อาจส่งผลต่อคุณภาพของเมล็ดกาแฟสาร

เครื่อง Coffee Sizes Grader (PFA 04x) ของเราสามารถคัดแยกขนาดเมล็ดกาแฟได้ถึง 8 ขนาด รวมถึงเมล็ดแตก เนื่องจากเมล็ดกาแฟสารที่เราได้มานั้นมีหลายขนาดปะปนกัน และอาจยังมีแกลบกะลาหรือเปลือกเชอร์รีแห้งติดไปได้ เราจึงต้องมีการคัดแยกขนาดอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟสารที่มีคุณภาพและได้ขนาดตามมาตรฐาน และการคัดแยกเมล็ดกาแฟสารแต่ละขนาดที่ได้นี้จะส่งไปยังเครื่องคัดแยกเมล็ดกาแฟตามความถ่วงจำเพาะ (Gravity Separator) ต่อไป

Post Reject
Post Reject

เครื่อง Gravity Separator (mvg-1x) ทำหน้าที่แยกเมล็ดกาแฟที่มีน้ำหนักเบา (ความหนาแน่นน้อย) ออกจากเมล็ดที่มีน้ำหนักมากกว่า (ความหนาแน่นมาก) เนื่องจากเมล็ดกาแฟที่มีน้ำหนักเบามีความผิดปกติหรือเป็นเมล็ดที่มีความบกพร่อง (Defects) 

Rejects จากเครื่อง Gravity Separator ส่วนใหญ่จะเป็น Defects ประเภทที่มีน้ำหนักเบาเช่นเมล็ดแตกหักหรือมีรอยถูกตัด (Broken/Chipped/Cut), เมล็ดเบาหรือลอย (Floater), เมล็ดหูช้าง (Shell) ฯลฯ

ขั้นตอนสุดท้ายของเราคือ เครื่อง Color Sorter เครื่องคัดคุณภาพด้วยค่าสี ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเตรียมกาแฟสาร โดยเครื่องจะทำหน้าที่แยกเมล็ดกาแฟที่มีความบกพร่อง (Defects) เช่น เมล็ดดำ (Full Black) เมล็ดที่มีสีน้ำตาลส้มมากกว่า 50% (Full Sour) ฯลฯ ด้วยระบบภาพถ่ายที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถคัดแยกเมล็ดกาแฟสารได้อย่างแม่นยำ

จากขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมดนี้ทำให้เราได้เมล็ดกาแฟสารที่มีคุณภาพผ่านมาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) อีกทั้งการเก็บรักษากาแฟสารของเราได้มีการเก็บไว้ในถุงจำกัดอากาศ (Humidity Seal Bag) เพื่อป้องกันการสัมผัสกับอากาศและความชื้นจากภายนอกและแมลงต่างๆ อันอาจส่งผลให้กาแฟสารสูญเสียคุณภาพ

💗 เพราะเราให้ความสำคัญกับการคัดคุณภาพกาแฟทุกๆ เมล็ด เราจึงยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการเรื่อง “การสีกาแฟกะลาและการคัดคุณภาพกาแฟสาร” ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟทุกท่าน

Post Reject

COFFEE KNOWLEDGE